ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การเจรจาประนอมหนี้

       หนี้คำที่ผู้ประกอบการหลายคนไม่ปรารถนาแม้เพียงการเอื้อนเอ่ย หรือหากเป็นไปได้จะไม่มีคำนี้ ในพจนานุกรม เลยยิ่งดี แต่ทว่าเราไม่สามารถจะปฏิเสธความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในโลกยุคโลกาภิวัตน์ได้ เมื่อต้องการขยายกิจการ นั่นคือต้องเพิ่มการลงทุน และแน่นอนว่าเราต้อง กู้เงินซึ่งผลพวงที่ตามมากลายเป็นสถานะของ ลูกหนี้ไปโดยปริยาย
จากสภาวะทางเศรษฐกิจและปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้ค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายต่างๆ เพิ่มมากขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งที่สำคัญราคาน้ำมันของโลกที่สูงขึ้นได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้ประกอบการในประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นไปด้วย แต่สินค้าที่ผู้ประกอบการได้ผลิตเพื่อนำออกมาจำหน่าย ตามท้องตลาด หรือร้านค้าปลีก ไม่สามารถขึ้นราคาตามต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงได้ สาเหตุดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการหลายราย ต้องขาดสภาพคล่องทางการเงิน และเงินหมุนเวียนทางการค้าต้องหยุดชะงัก หรือไม่มีเงินที่จะทำการค้าต่อไปได้ บางครั้งถึงขนาดที่ต้องประสบกับการขาดทุนอย่างมาก จนต้องหยุดหรือปิดกิจการเพราะไม่สามารถที่จะดำเนินการประกอบ กิจการค้าต่อไปได้
จากสภาวะดังกล่าวข้างต้นทำให้ผู้ประกอบการต้องมีหนี้สินและมีเจ้าหนี้ทางการค้าต่างๆ มากมาย ยิ่งถ้าต้องไปกู้เงินจากสถาบัน การเงินเพื่อนำมาซื้อวัตถุดิบในการผลิตสินค้า หรือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนด้วยแล้ว ย่อมต้องเกิดปัญหาตามมา คือไม่มีเงินชำระหนี้ ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เมื่อขาดส่งหลายงวด จะตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งการผิดนัดชำระหนี้นั้นสถาบันการเงินจะคิดอัตราดอกเบี้ย เป็นดอกเบี้ยผิดนัด โดยอัตราดอกเบี้ยผิดนัดดังกล่าวจะเป็นอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน หรือสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี นอกจากนี้หากเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สถาบันการเงินสามารถนำดอกเบี้ยที่ค้างชำระในแต่ละเดือนทบเข้ากับต้นเงิน ที่ค้างชำระได้ และจะกลายเป็นต้นเงินใหม่ เพื่อนำไปคิดดอกเบี้ยในเดือนถัดไป ทำให้เกิดภาระหนี้สินเพิ่มมากขึ้นไปอีก
ยกตัวอย่างกรณีลูกค้าของสถาบันการเงินแห่งหนึ่งได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นจำนวน 2,000,000 บาท แต่เมื่อเกิดสภาวะ ทางเศรษฐกิจจนลูกหนี้ไม่สามารถที่จะนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ได้ ทำให้เกิดดอกเบี้ยค้างชำระเป็นเงิน 100,000 บาท ธนาคารก็ จะนำเอาดอกเบี้ยดังกล่าวไปรวมกับต้นเงิน 2,000,000 บาท เป็นยอดต้นเงินใหม่ 2,100,000 บาท และคิดดอกเบี้ยจากต้นเงิน ดังกล่าว ดังนั้น จำนวนดอกเบี้ยจะสูงกว่าเดิมเพราะยอดเงินต้นเพิ่มขึ้น ซึ่งจากตัวอย่างข้างต้นจะทำให้เข้าใจถึงภาระหนี้ที่เพิ่มจำนวน มากที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระในการชดใช้หนี้ดังกล่าวต่อสถาบันการเงินนั้นๆ
การที่ผู้ประกอบการต้องมีภาระหนี้เป็นจำนวนมากอาจทำให้กังวลและท้อแท้จนไม่รู้จะแก้ไขปัญหาอย่างไร ซึ่งการมีหนี้กับสถาบัน การเงินไม่ใช่การจบสิ้นของกิจการ ถ้าเห็นว่ากิจการยังคงสามารถดำเนินต่อไปได้ ก็ควรตั้งสติและค่อยๆ แก้ปัญหา เพราะสถาบัน การเงินทุกแห่งมีนโยบายที่จะประนอมหนี้กับลูกค้า
ผู้ประกอบการไม่ควรที่จะนิ่งเฉย แต่ควรหาช่องทางในการที่จะนำเสนอหนทางผ่อนปรนในการชำระหนี้หรือขอประนอม หนี้ ซึ่งในทางกฎหมายการผิดนัดชำระหนี้เป็นเพียงคดีแพ่งเท่านั้น คู่กรณีสามารถที่จะเจรจาตกลงกันได้ตลอดเวลา ถึงแม้คดีจะอยู่ในชั้นศาลแล้ว ถ้าไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยก็คงไม่มีปัญหาอะไร การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นที่มีกับ สถาบันการเงิน คือ
การขอเจรจาประนอมหนี้ เพื่อจะได้มีโอกาสและมีเวลาในการผ่อนชำระหนี้คืนให้กับสถาบันการเงิน หลักการในการเจรจาขอ ประนอมหนี้มีอยู่หลายแบบ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของสถาบันการเงินนั้นๆ ว่ามีหลักการที่จะช่วยเหลือลูกหนี้เพียงใด ซึ่งนโยบายแต่ละแห่งจะไม่เหมือนกัน แต่วิธีการเจรจาของลูกหนี้โดยรวมแล้วจะมีวิธีการที่หลากหลาย
บ้างขอให้ลดยอดหนี้ลงบางส่วน ขอขยายเวลาการชำระหนี้ ขอลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละงวด ขอให้คิดดอกเบี้ยในอัตรา ปกติที่ไม่ผิดนัด หรือขอโอนหลักประกันเพื่อชำระหนี้ ฯลฯ ซึ่งการเจรจาจะสำเร็จหรือไม่นั้น สถาบันการเงินทุกแห่งจะพิจารณา ตรวจสอบราคาประเมินของหลักประกันที่ได้ให้เป็นประกันไว้ ว่าราคาประเมินสูงกว่าหนี้ที่มีอยู่หรือไม่ รวมถึงชื่อเสียงหรือเครดิต ของลูกค้าด้วย เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะอนุมัติผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้
ขั้นตอนการขอเจรจาประนอมหนี้กับสถาบันการเงิน
ขอแนะนำว่าควรเจรจาด้วยความสุภาพและด้วยความสัมพันธ์ที่ดี อย่าใช้อารมณ์ในการเจรจา พยายามพูดด้วยเหตุผลถึงความจำเป็น ของการไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งหากเจรจาโดยใช้วาจาไม่สุภาพหรือใช้อารมณ์อาจทำให้ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ จะทำให้ เป็นการเร่งรัดสถาบันการเงินนั้นให้ดำเนินคดีกับผู้ประกอบการเร็วขึ้น
และถ้าไม่สามารถเจรจาตกลงประนอมหนี้ได้ สถาบันการเงินจะมีหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้ โดยมีกำหนดระยะเวลาไว้ และจะ นำคดีมาฟ้องต่อศาลต่อไป ซึ่งหากถูกฟ้องคดีที่สำคัญอย่าตกใจ เพราะไม่ใช่คดีอาญาที่เกี่ยวกับการต้องถูกจำคุก ควรที่จะใจเย็น กล้าที่จะเผชิญหน้า และควรจะศึกษาขั้นตอนในการดำเนินคดีตามกฎหมาย รวมทั้งการเตรียมตัวในการยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ด้วย
เมื่อสถาบันการเงินได้ฟ้องคดีแล้ว !!
ผู้ประกอบการจะได้รับคำฟ้องพร้อมหมายเรียก โดยหมายเรียกจะมีวันนัดไกล่เกลี่ยหรือวันนัดสืบพยานของโจทก์ (โจทก์หมายถึง ผู้ที่ฟ้องคดี) ทั้งนี้ต้องตรวจสอบด้วยว่าได้มีการรับหมายพร้อมสำเนาคำฟ้องเมื่อไร เพราะจะทราบถึงเวลาที่สามารถจะยื่นคำให้การ ซึ่งผู้ประกอบการควรจะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดี ไม่ว่าคดีนั้นจะมีข้อต่อสู้ที่เห็นว่าเจ้าหนี้เอาเปรียบ ดอกเบี้ยที่สถาบันการเงิน ได้คิดนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป หรือไม่เห็นด้วยกับยอดหนี้ ก็จะต้องยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โดย ปัจจุบันนี้ในแต่ละศาลจะมีการไกล่เกลี่ยก่อนที่จะพิจารณาคดี เพื่อที่จะได้ยุติข้อพิพาทในทางคดีโดยไม่ต้องเสียเวลาเข้าสู่ กระบวนการพิจารณาของศาล และจะทำให้ข้อพิพาทในทางคดีจบลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการไกล่เกลี่ยนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีหรือจำเลย สามารถที่จะเข้าไกล่เกลี่ยเองได้ โดยไม่ต้องมีทนายความ
แต่ถ้าหากการไกล่เกลี่ยยังไม่สามารถตกลงกันได้ ศาลจะกำหนดให้มีการสืบพยานทั้งสองฝ่าย โดยก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา ผู้ประกอบการยังสามารถติดต่อขอประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ได้ และหากสามารถตกลงกันได้ศาลจะนัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความ กันต่อไป
ในกรณีที่ไม่สามารถจะตกลงกันได้ ศาลจะพิจารณาพิพากษาตามพยานหลักฐานต่อไป ทั้งนี้ผู้ประกอบการยังสามารถที่จะเจรจาเพื่อ ขอผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ได้อีก คือการเจรจาไกล่เกลี่ยในชั้นบังคับคดี แต่ถ้าหากคดีมีการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ในการดำเนินการไกล่เกลี่ยในชั้นอุทธรณ์ยังสามารถที่จะกระทำได้ ซึ่งในขณะนี้ศาลอุทธรณ์ได้จัดให้มีการไกล่เกลี่ยในชั้นอุทธรณ์ ด้วย
จะเห็นได้ว่าการดำเนินกระบวนการทางกฎหมายไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใด สามารถที่จะเจรจาได้ตลอดเวลา
นอกจากการดำเนินคดีแล้ว สถาบันการเงินยังมีการดำเนินคดีกับลูกหนี้ที่ค้างชำระหนี้ต่อไปอีก นั่นคือ
ในกรณีที่ได้มีการยึดทรัพย์และนำออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้
คือ การดำเนินคดีฟ้องล้มละลาย ซึ่งผู้ประกอบการที่เป็นลูกหนี้ไม่ควรที่จะอยู่นิ่งเฉย ควรที่จะศึกษาเพื่อที่จะดำเนินกระบวนการตาม ขั้นตอนของกฎหมายต่อไปด้วย เพื่อรักษาผลประโยชน์ในทางคดีของตนเอง แต่ถึงอย่างไรก็ตามก็ยังสามารถที่จะเจรจาขอประนอม หนี้กับเจ้าหนี้ได้อีกเช่นกัน ซึ่งถ้าหากตกลงกันได้สถาบันการเงินก็จะถอนฟ้องคดีล้มละลายจากศาล
วิธีการเจรจาประนอมหนี้นั้น ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ที่จะเจรจากันนั้นได้รับความพอใจทั้งสองฝ่ายหรือไม่ ดังนั้นแนวทางการเจรจาจึงขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายเป็นสำคัญ เช่น ธนาคารได้รับเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ยบางส่วน และลูกหนี้ได้รับลดหนี้และขยายระยะเวลาการชำระหนี้เป็นต้น
การแก้ปัญหาโดยการเจรจาประนอมหนี้ เป็นเพียงแนวทางการแก้ปัญหาทางหนึ่งในหลายๆ ทาง ซึ่งการเจรจาประนอมหนี้ กับสถาบันการเงินข้างต้นก็อาจจะเป็นแนวทางในการไขปัญหาหนี้กับเจ้าหนี้ทางการค้ารายอื่นๆ ได้ โดยไม่ทำให้เกิดความ เสียหายแก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ ดังนั้นการเจรจาเพื่อประนอมหนี้จึงถือว่าเป็นการออมชอมระหว่างกันหรือร่วมกันแก้ไขปัญหาหนี้สิน รวมทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาของชาติโดยรวมด้วย
ที่มา : เชิดศักดิ์ ธีรนันทวาณิช ที่ปรึกษา SMEs (Business Thai)

วงเงิน L/C , T/R

Letter of Credit  (L/C)

                เป็นบริการที่ธนาคารเสนอแก่ผู้นำเข้า ในกรณีที่ผู้นำเข้าสั่งซื้อสินค้า วัตถุดิบ หรือเครื่องจักรจากต่างประเทศโดยเลือกใช้วิธีการชำระเงินแบบ L/C โดยผู้นำเข้าสามารถติดต่อขอใช้บริการเปิด L/C กับธนาคารได้ ซึ่งเมื่อธนาคารเปิด L/C ไปแล้ว ธนาคารจะมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระเงินทันที (L/C at Sight) หรือชำระเงินในอนาคต (L/C Terms) ให้แก่ธนาคารของผู้ส่งออกในต่างประเทศ เมื่อได้รับเอกสารถูกต้องและครบถ้วนตามเงื่อนไขของ L/C

ขั้นตอนและเงื่อนไขการใช้บริการ
                1. ลูกค้าติดต่อธนาคารเพื่อขออนุมัติวงเงินเปิด L/C ซึ่งสามารถแยกเป็นวงเงินชั่วคราวเฉพาะรายหรือวงเงินถาวร
            2. เมื่อลูกค้าได้รับอนุมัติวงเงินเปิด L/C เรียบร้อยแล้ว ลูกค้าสามารถยื่นขอเปิด L/C กับธนาคารได้โดยนำหลักฐานดังต่อไปนี้มาเพื่อขอเปิด L/C
                - Application for Issuing a Documentary Credit
                - หลักฐานอื่นๆ แนบประกอบ เช่น Contract, Pro-forma Invoice, Purchase Order
            3.ธนาคารพิจารณาและเปิด L/C ตามคำขอของผู้นำเข้า
            4. ธนาคารส่งสำเนา L/C ให้แก่ผู้นำเข้า


***********************************************************************


Trust Receipt (T/R)

                เป็นวงเงินสินเชื่อสินค้าเข้าที่ธนาคารเสนอให้ผู้นำเข้าที่ซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าที่ชำระด้วย Letter of Credit, Bill for collection, Outward Remittance ท่านสามารถจะขอทำ T/R และรับเอกสารสิทธิเพื่อออกสินค้าได้

ลักษณะของบริการ :  เป็นสินเชื่อระยะสั้น

ขั้นตอนและเงื่อนไขของธนาคาร
                1. ลูกค้าติดต่อเพื่อขอวงเงินกับธนาคาร ซึ่งลูกค้าสามารถที่จะขอวงเงินร่วมกับวงเงินเปิด L/C และทำ T/R ได้ลูกค้าติดต่อเพื่อขอวงเงินกับธนาคาร ซึ่งลูกค้าสามารถที่จะขอวงเงินร่วมกับวงเงินเปิด L/C และทำ T/R ได้
            2. เมื่อลูกค้าได้รับอนุมัติวงเงินแล้ว และมีเอกสาร Import Bill under L/C หรือ Import Bill for Collection มาเรียกเก็บเงิน ลูกค้าสามารถยื่นเอกสารขอทำ T/R และหลังจากนั้นลูกค้าสามารถรับเอกสารสิทธิไปออกสินค้าได้



เตรียมข้อมูลในการขอสินเชื่อ และมุมมองของธนาคาร

          ปัจจุบันการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อประกอบธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น เพราะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากธนาคารต่างๆ ได้มากมาย แต่หากกิจาการขาดความเข้าใจหลักพิจารณาการปล่อยสินเชื่อของธนาคารแล้วก็คงเป็นเรื่องยากที่จะได้เงินมาประกอบธุรกิจ วันนี้จึงหยิบยกเคล็ดลับที่จะทำให้กิจการมีโอกาสผ่านเกณฑ์การขอสินเชื่อได้สูง มาบอกกัน

สำหรับธุรกิจที่เริ่มก่อตั้งใหม่จะต้องมีระยะเวลาดำเนินธุรกิจอย่างน้อย
3 - 6 เดือนโดยจะพิจารณาจากพื้นฐานการทำธุรกิจและประสบการณ์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางในการพิจารณา (Guide Line) พื้นฐานเท่านั้น ที่สำคัญผู้ประกอบการควรมีความเข้าใจในธุรกิจอย่างแท้จริงและสามารถชี้ช่องทางในโอกาสธุรกิจที่เห็นและสามารถจับต้องได้ ก็จะทำให้โอกาสในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อก็มีความเป็นไปได้สูง 
ข้อมูลที่กิจการต้องจัดเตรียมในการขอสินเชื่อ
1. งบการเงินย้อนหลัง 3 ปี (ถ้ามี งบภายใน ก็ขอด้วยค่ะ)
2. ภ.พ.30 ตั้งแต่ ม.ค.-ส.ค.53
3. Statement
4. สัดส่วนขายในประเทศ : ต่างประเทศ
5. วัตถุดิบ ซื้อจากในประเทศ หรือต่างประเทศ (สัดส่วนเท่าไหร่)
6. กำลังการผลิต Capacity สูงสุดเท่าไร ทำกี่กะ กะละกี่ชั่วโมง
7. รายชื่อลูกหนี้การค้า 5 รายใหญ่ พร้อมเครดิตเทอมกี่วัน (ขายสด หรือขายเชื่อ)
8. รายชื่อ Supplier 5 รายใหญ่ พร้อมเครดิตเทอมกี่วัน (ซื้อสด หรือซื้อเชื่อ)
9. Stock วัตถุดิบ และสินค้า กี่วัน
10. ขั้นตอนการผลิต
11. ราคาขาย , Product อะไร และอายุของผลิตภัณฑ์
12. หลักประกันเป็นอะไร มูลค่าเท่าไร

***************************************************************************************************************************

ธนาคารจะพิจารณาข้อมูลการขอสินเชื่ออะไรบ้าง
1.
หลักประกัน ธนาคารจะพิจารณาจากหลักทรัพย์กับความแตกต่างในมูลค่าของวงเงินกู้ และความมั่นคงในทรัพย์สิน
2.
อัตราเสี่ยงทางการเงินต่างๆ
3.
ความสามารถของกิจการในการสร้างกำไร คือ การพยากรณ์การขาย การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน การคาดคะเนหรือ   
    การประมาณการทางการเงิน(งบดุล,งบกำไรขาดทุน)
4.
สภาพคล่องของทรัพย์สิน คือ การดูจากบัญชีงบดุล
5.
ภาวะการหมุนเวียนของเงินทุน คือ การวิเคราะห์กระแสการหมุนเวียนของเงิน
6.
ความสามารถและความชำนาญและการบริหาร คือ ดูจากระบบการผลิต การควบคุม คุณภาพและกลวิธีทางการ   
    ตลาด โครงสร้างและระบบการบริหารภายใน ปรัชญา เป้าหมายและนโยบายการบริหารระยะสั่นและระยะยาว     
    แผนงานระยะสั้นและระยะยาว และแผนพัฒนาบุคลากร
7.
อนาคตของธุรกิจและการประกอบการ คือ แผนพัฒนาธุรกิจและโครงการขยายสาขา หรือ การปรับปรุงเปลี่ยนแนว    
    ดำเนินธุรกิจ